บ้านนอร์ดิก คือ

บ้านนอร์ดิก คือ 1

บ้านนอร์ดิก คือ

บ้านสไตล์นอร์ดิก” ฝาแฝดบ้านมินิมอล
น่ารัก แถมทันสมัยมาก 
(2021)

  • นอร์ดิกเป็นสไตล์บ้านแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ สวีเดน, ฟินแลนด์, ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ เดนมาร์ก และเกาะกรีนแลนด์
  • เอกลักษณ์ของบ้านสไตล์นอร์ดิกคือจะเป็นทรงจั่วคล้ายกับโรงนาในยุโรป มีด้านที่เป็นกระจกคอยรับแสง และเน้นความเป็นธรรมชาติของสีและวัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
  • หากอยู่ในพื้นที่ที่ร้อนมาก แดดส่องจัด การสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิกอาจจะต้องลดด้านที่เป็นกระจกให้น้อยลง เพื่อให้บ้านไม่ร้อนจนเกินไป
  • ไม่จำเป็นต้องทำให้ออกมาเป็นนอร์ดิกเป๊ะ ๆ สามารถผสมผสานได้ตามใจที่ต้องการ ทั้งสไตล์โมเดิร์น ลอฟต์ปูนเปลือย หรือจะไปแนวหรูหราก็ได้

บ้านสไตล์นอร์ดิกคืออะไร

“Nordic” คือคำที่ใช้เรียกพื้นที่แถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีประเทศที่เป็นกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ สวีเดน, ฟินแลนด์, ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ เดนมาร์ก และเกาะกรีนแลนด์ แม้จะอยู่ทางโซนยุโรปเหนือ แต่สภาพภูมิอากาศไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีละติจูดเดียวกัน โดยฤดูหนาวจะค่อนข้างอบอุ่น เพราะได้รับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ถ้าเป็นช่วงหนาวจัดจะมีหิมะตก การออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกจึงมักมีด้านที่เป็นกระจกช่วยเพิ่มแสงสว่างและความอบอุ่น

Nordic House Style : ฝาแฝดบ้านสไตล์มินิมอล

บ้านสไตล์นอร์ดิกถูกเรียกว่าเป็นฝาแฝดบ้านสไตล์มินิมอล มีรูปทรงคล้ายกับสไตล์ Modern Barn ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากยุ้งฉางหรือโรงนาในแถบยุโรป ดูเรียบง่าย ไม่มีรายละเอียดซับซ้อน อีกทั้งยังเน้นความธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวนอร์ดิกดั้งเดิมอีกด้วย บ้านโมเดิร์นงบน้อย

ข้อดีของบ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic house Style

1. เน้นเปิดพื้นที่ให้แสงสว่างเข้ามา ทำให้ดูอบอุ่น สบายตา

2. หลังคาจั่วสูง ไม่มีชายคา ทำให้หิมะไม่ตกค้าง ลดความชื้นบนหลังคา นอกจากนี้หลังคาสูงยังช่วยให้บ้านดูโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศจะช่วยให้อากาศถ่ายเทสะดวก

3. เน้นการใช้งานมากกว่าความสวยงาม ดีไซน์และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ จึงเน้นประโยชน์ใช้สอย

4. เน้นความเป็นธรรมชาติ ด้วยการใช้วัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติ รวมถึงโทนสีที่ดูกลืนกับธรรมชาติ ดูมีอะไร

ข้อควรรู้ก่อนสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิก

1. หากอยู่ในพื้นที่ที่ร้อนมาก แดดส่องจัด การสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิกอาจจะต้องลดด้านที่เป็นกระจกให้น้อยลง เพื่อให้บ้านไม่ร้อนจนเกินไป

2. การเลือกวัสดุควรเลือกให้เข้ากับภูมิอากาศและภูมิประเทศของบ้านเรา เช่น ถ้าเลือกตกแต่งภายนอกเป็นไม้ ควรเลือกชนิดที่ทนฝน ทนพายุ ทนแดด ไม่แตกหรือหักง่าย เพราะบ้านเราค่อนข้างเจอพายุบ่อย หากเป็นหลังคาอาจจะเลือกหลังคาคอนกรีต เพราะแข็งแรง และดูเนียนตา น่าจะเหมาะกับบ้านสไตล์นี้มากที่สุด

3. การเลือกเฟอร์นิเจอร์ควรเลือกดีไซน์ที่เรียบง่าย คงคอนเซปต์ ‘Less is More’ เช่น ขอบเรียบเนียนและโค้งมน ไม่มีองค์ประกอบที่ดูรกตา เพื่อคงความนอร์ดิกให้มากที่สุด

4. หากอยากให้บ้านสวยเท่ ดูสุขุมลุ่มลึก แนะนำเป็นโทนดำหรือเทาเข้ม แต่ถ้าชอบความคลีน ๆ ดูมินิมอล แนะนำเป็นโทนสีขาว เทาอ่อน หากเป็นไม้ควรเป็นสีอ่อน บ้านสไตล์เกาหลี

บ้านนอร์ดิก คือ 2

ไอเดียบ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic house Style)

บ้านสไตล์นอร์ดิก Façade ทรงจั่ว ไม่มีชายคา ได้กลิ่นอายของวัฒนธรรมนอร์ดิกแบบดั้งเดิม เรียบง่าย แต่ดูมีอะไร ถ้าไม่รู้ว่านี่เรียกว่าสไตล์นอร์ดิก คงคิดว่าเป็นสไตล์มินิมอลแล้วนะเนี่ย 

ตอนนี้แม้ในอุบลราชธานี เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้สึกว่าหันไปทางไหนก็เห็นงานออกแบบสไตล์นอร์ดิก ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ร้านกาแฟ ออฟฟิศ ร้านอาหาร ก็มักมีการออกแบบสไตล์การตกแต่งรูปทรงห้าเหลี่ยมคล้ายบ้าน ซึ่งถูกเรียกกันว่า “บ้านสไตล์นอร์ดิก”


การจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ ทาง “อุบลน่าอยู่” จึงขอเล่าถึงพื้นที่อาศัย
ที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นชินนัก นั่นคือ พื้นที่แถบแสกนดิเนเวีย เขตพื้นที่ทางตอนเหนือของยุโรป นั่นคือกลุ่มประเทศ สวีเดน นอร์เวย์และเดนมาร์ก หรือที่บางคนอาจจะรู้จักจากหนังหรือภาพยนตร์

ที่เป็นเขตที่อยู่ของชนเผ่าไวกิ้ง และเชื่อหลายคนน่าจะจำได้ว่า ไวกิ้ง จะมาพร้อมชุดขนสัตว์ หน้าปกคลุมทั่วร่างกาย สภาพอากาศหนาวเหน็บ ทั้งน้ำแข็ง หิมะพร้อมทั้งอยู่อาศัยในบ้านไม้ในป่าทรงสามเหลี่ยมที่ตอนเด็กเรามักจะวาดเป็นรูปกันจนชินมือ

ใช่ครับ นี่แหละจุดเริ่มต้นของ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” ที่กำลังเป็น
ที่นิยมสุดๆ

จุดเด่นของ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” น่าจะเกิดจากรูปหลังคามุมสูงชัน ทรงสามเหลี่ยม วัสดุหลังคาที่ดูเรียบ คม เป็นรูปทรงเรขาคณิตชัดเจน ตามด้วยองค์ประกอบที่ต้องเรียบง่าย พื้นที่ภายในที่โปร่งและมีโถงสูงตามพื้นที่ลาดชัน บางที่มีหน้าต่างทรงสูงคอยรับแดด และจุดเด่นที่หลายคนคงประหลาดใจคือ เป็นบ้านที่ไม่มีชายคา รูปทรงบ้านสุดน่ารักจดจำง่ายและน่าประทับใจแก่ใครหลายๆ คน

อย่างแรกเราต้องมาทำความเข้าใจ ที่มาที่ไปของรูปแบบเพื่อหาคำตอบถึงความเหมาะสมกับการเป็นอยู่และสภาพภูมิอากาศในเมืองไทย

  • สภาพอากาศที่มีหิมะตกปกคลุมเกือบตลอดทั้งปี
    ทำให้หลังคาจะต้องมีมุมชันและเรียบ เพื่อลดการสะสมของหิมะ และลดการเกาะของน้ำแข็ง พายุหิมะที่ตกหนักและสภาพอากาศที่ไม่มีฝน มีแต่น้ำแข็งเกาะตัวกัน
  • ชายคาของบ้านจึงนับเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นที่สุด
    เพราะไม่ต้องกันฝน หรือแดด การมีชายคาทำให้หลังต้องรับน้ำหนักของหิมะเพิ่มและเพิ่มพื้นที่เกาะของแท่งน้ำแข็ง ที่อาจะเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย
  • หน้าต่างหรือช่องแสงทรงสูง หรือหน้าต่างที่ระดับสูง
    เนื่องด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็น แสงแดดเป็นสิ่งที่โหยหา จะไม่แปลกใจที่ “บ้านสไตล์แบบนอร์ดิก” จะมีช่องแสงมากและมีอยู่ที่ระดับสูงเพื่อเปิดรับแสงที่มากกว่าปกติ

มาถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มสงสัยว่า ถ้าต้องเปรียบเทียบสภาพอากาศในแถบ “สแกนดิเนเวีย” มันช่างแตกต่างจาก “อุบลราชธานี” บ้านเราเหลือเกินด้วยสภาพอากาศร้อน ฝน และมีลมแรงในช่วงเปลี่ยนฤดู แบบนี้มันจะเหมาะกับสภาพอากาศบ้านเราจริงหรอ อ่านเพิ่มเติม : assetdata.land

ตรงจุด “อุบลน่าอยู่” ขอบอกไว้ก่อนเลยว่า สไตล์บ้านสแกนดิเนเวียสามารถปรับให้เข้ากับบ้านเราได้บ้าง หากผู้ออกแบบ หรือผู้สร้างเข้าใจในบริบท สภาพภูมิอากาศบ้านเรา ซึ่งทาง “อุบลน่าอยู่” ในฐานะที่พอจะมีความรู้ในการออกแบบที่อยู่อาศัยจะขอสรุปเป็นข้อเด่น และข้อต้องระวัง เพื่อให้เพื่อนๆ สามารถนำแนวคิดนี้ไปคัดเลือกบ้านที่เหมาะสมได้ ดังนี้

✅ ข้อเด่นใน “บ้านสไตล์นอร์ดิก” ที่ควรมีไว้ เพราะมีความเหมาะสมกับบ้านเราไม่แพ้กัน

  • หลังคาทรงสามเหลี่ยม มุมชัน 40-45 องศา สามารถทำได้ แต่ต้องเลือกวัสดุที่ดีเหมาะสม หลังคาทรงนี้จะช่วยให้กันความร้อนได้ดีกว่าแบบทรงโมเดิร์นอยู่แล้ว จึงเหมาะที่จะใช้งานได้ดีกับอุบลราชธานีบ้านเรา
  • พื้นที่ใต้หลังคา และการยกฝ้าสูงตามมุมชันของหลังคา จริงๆ แล้วสิ่งนี้จะทำให้ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” มีความโปร่งโล่ง แต่ควรจะเว้นระยะ ระหว่างฝ้ากับหลังคาบ้าง เพื่อเป็นพื้นกักเก็บความร้อนที่แผ่นลงมาจากหลังคา หรืออาจจะมีเพียงบางห้องที่ยกฝ้าลาดเอียงตามมุมชันก็ได้
  • ภายในควรเน้นความเป็นธรรมชาติ มินิมอลนิดๆ โทนสีผสมไม้จริงบ้าง จะทำให้มีกลิ่นไอของ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” ได้ชัดเจนมากขึ้น
  • ภาพรวมอาคาร เชื่อว่าหลายคนจะประทับใจ ด้วยรูปทรงที่ดูเรียบง่ายแต่มีรายละเอียด

🔴 ข้อควรระวังสำหรับดีไซน์ “บ้านสไตล์นอร์ดิก”

  • ต้องออกแบบ มุม องศา ทิศลมและแดดให้ดี เพื่อลดภาระของเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากการไม่มีชายคา และมีพื้นที่หลังคามาก ทำให้พื้นที่สัมผัสแดดสูงกว่าบ้านสไตล์อื่นๆ ในไทย
  • หลังคาควรมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน และระบบฝ้าให้ระบายความร้อนได้สะดวก
  • หากเป็นไปได้ ทางเราอยากแนะนำให้มีชายคาบ้าง แบบสั้นๆ แต่ก็จะช่วยได้มาก สำหรับกันน้ำฝนที่อาจจะรั่วซึมเข้าโดยง่ายบริเวณรอยต่อของหลังคากับผนัง
  • หน้าต่างบานใหญ่ ทรงสูง อาจจะต้องอาศัยการวางทิศทาง หลบแดด เป็นสำคัญ เพราะหากรับแดดตะวันตกเข้าไป คงทำให้การอยู่อาศัยลำบากขึ้นมาก

แบบสไตล์ “บ้านนอร์ดิก” ในประเทศไทย

ทั้งนี้ “อุบลน่าอยู่” ขอแนะนำว่า “บ้านสไตล์นอร์ดิก” เป็นอีกหนึ่งสไตล์การออกแบบที่ถือว่ามีความเหมาะสมกับบ้านเราในระดับหนึ่ง หากผ่านผู้มีประสบการณ์ หรือสถาปนิกที่เข้าใจในการออกแบบ และให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัยจริงๆ มากกว่าเพียงความสวยงามตามนิตยสารและภาพจากอินเตอร์เน็ต

ในจังหวัด “อุบลราชธานี” เองก็มีหลายโครงการที่หยิบยกเอารูปแบบ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” นี้มาปรับแต่งให้เหมาะกับการอยู่อาศัยแบบบ้านเรา หากเพื่อนๆ ชาว “อุบลราชธานี” สนใจแบบบ้านสไตล์นอร์ดิก อาจจะลองแวะดูแวะชมก่อนได้ที่โครงการด้านล่างนี้ อย่างน้อยก็เพื่อให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าชอบหรือเหมาะสมกับตัวเราเองแค่ไหน

บ้านนอร์ดิก คือ 3