Internet of Thing มีอะไรบ้าง รู้จัก 5 เทคโนโลยีที่ต้องมีติดบ้าน-คอนโด

IoT หรือ Internet of Things มีอะไรบ้าง ปัจจุบันถือเป็นอีกประเด็นที่ได้รับความสนใจและถูกพูดถึงในยุคนี้ไม่น้อย เพราะนอกจากจะมาพร้อมนวัตกรรมใหม่ในยุคดิจิทัลแล้ว ยังเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับทุกคนจนเรียกได้ว่าต้องมีติดบ้านหรือที่อยู่อาศัยของตัวเองด้วย ลองมาทำความรู้จักว่า IoT คืออะไร ทำไมจึงควรมีอยู่ในบ้านหรือคอนโด

Internet of Things หรือ IoT คืออะไร

ก่อนจะไปดูว่า IoT หรือ In ternet of Things มีอะไรบ้าง มาดูความหมายกันก่อนว่า IoT คืออะไร

จริง ๆ แล้ว IoT หรือ In ternet of Things คือ ระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบดิจิทัล สิ่งของ มนุษย์ หรือแม้แต่สัตว์เข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่อถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่าย โดยไม่จำเป็นต้องให้คนมาส่งมอบข้อมูลกันเอง แต่ให้ระบบดังกล่าวเป็นตัวกลางในการทำหน้าที่แทน

โดยทั่วไปแล้ว IoT ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภท web-enabled smart devices ฝังเข้าไปในระบบ เพื่อเก็บข้อมูลและส่งข้อมูลตามที่ได้รับการป้อนคำสั่งเข้ามา โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะแชร์ระบบเซ็นเซอร์กับเกตเวย์หลักสำหรับรับส่งข้อมูล นอกจากนี้ IoT ยังเป็นประโยชน์ต่อปัญญาประดิษฐ์ เพราะช่วยให้เก็บข้อมูลง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

จริง ๆ แล้ว สิ่งของแทบทุกอย่างนำมาทำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับเชื่อมต่อกับระบบ IoT ได้หากเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและควบคุมการเชื่อมต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ได้

ยกตัวอย่าง โคมไฟที่นำมาใช้เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมต่อระบบ IoT จะมีฟังก์ชันใช้งานแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนได้ นั่นก็เพราะโคมไฟนี้มีระบบเซ็นเซอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบได้นั่นเอง เป็นต้น

ทำไมต้องมี Internet of Things หรือ IoT ติดบ้าน-คอนโด

ต้องยอมรับว่า IoT ถือเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อแวดวงอุตสาหกรรมหลายอย่าง และเมื่อพูดถึงประโยชน์ของ IoT สำหรับคนทั่วไป ก็คงส่งผลดีต่อการใช้ชีวิตประจำวันภายในบ้าน

หากเน้นประโยชน์ของ IoT หรือ In ternet of Things มีอะไรบ้างที่มีต่อที่อยู่อาศัย ก็ต้องบอกว่าบ้านหรือคอนโดที่มีระบบ IoT จะมีลักษณะเป็นสมาร์ทโฮม กล่าวคือเป็นบ้านที่เน้นการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก สิ่งของทุกอย่างล้วนรับส่งข้อมูลตามคำสั่งที่ป้อนเข้าไป

นอกเหนือจากภาพความทันสมัยและสะดวกสบายแล้ว การใช้เทคโนโลยี IoT ยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างที่เราควรพิจารณาไว้ เพื่อนำมาใช้ในที่อยู่อาศัยต่อไป และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวไว้ในบ้าน

1. ควบคุมการทำงานอุปกรณ์ต่าง ๆ ง่ายขึ้น

เทคโนโลยี IoT จะช่วยให้ควบคุมกระบวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย IoT จะเก็บข้อมูลว่ากิจวัตรในแต่ละวันเป็นอย่างไร ต้องทำกิจกรรมหรืองานอะไรบ้าง จากนั้นก็จะประมวลผล เพื่อนำไปเชื่อมต่อและสั่งการทำงานต่อไป

เราไม่จำเป็นต้องทำงานเองทุกอย่าง เพราะระบบ IoT ที่ได้รับการป้อนข้อมูลจะดำเนินการให้เอง เช่น ตู้เย็นที่เชื่อมต่อกับระบบ IoT จะแจ้งเตือนเจ้าของบ้านว่ามีโยเกิร์ตใกล้เสียอีกสองวัน ซึ่งช่วยให้เราเตรียมกำจัดทิ้งได้เลย โดยไม่ต้องมานั่งคัดแยกและดูวันหมดอายุของของกินเอง เป็นต้น

2. ประหยัดค่าใช้จ่าย

สมาร์ทโฮมจะใช้พลังงานในการทำงานแต่ละอย่างได้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะเราสามารถกำหนดตั้งค่าการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อกับระบบ IoT ซึ่งเอื้อต่อการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวมได้

นอกจากนี้ เราสามารถตั้งค่าให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานทุกอย่างได้เอง โดยระบบจะชัตดาวน์อุปกรณ์อื่นที่ไม่ได้ใช้งานขณะนั้น ส่งผลให้การใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นลดลงตามไปด้วย กลายเป็นต้นแบบบ้านประหยัดพลังงาน

3. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายแล้วนั้น การประหยัดพลังงานยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สภาพแวดล้อมถูกทำลายน้อยลง อีกทั้งยังส่งเสริมการใช้ชีวิตคุณภาพในสภาพแวดล้อมปลอดมลพิษยิ่งขึ้น

4. มีความปลอดภัยสูง

ระบบรักษาความปลอดภัยของสมาร์ทโฮมจะช่วยปกป้องความเสียหายและการสูญหายของสินทรัพย์ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี เพราะระบบ IoT จะมีชุดคำสั่งที่ช่วยควบคุมและดูแลความปลอดภัยสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้าน

ไม่ว่าจะเป็น กล้องวงจรปิด ระบบปลดล็อกสมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งระบบเซ็นเซอร์ดักจับการเคลื่อนไหวหรือควันอื่น ๆ อุปกรณ์เหล่านี้จะทำงานร่วมกันและส่งสัญญาณแจ้งเตือนในกรณีที่พบสิ่งผิดปกติ

นอกจากนี้ เรายังตรวจสอบหรือดูสภาพแวดล้อมภายในและรอบบ้านว่าเป็นอย่างไรในขณะที่อยู่ที่อื่นก็ได้

Internet of Things

เทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things มีอะไรบ้าง

หากที่อยู่อาศัยของเราจะกลายเป็นสมาร์ทโฮมนั้น เทคโนโลยี IoT หรือ In ternet of Things มีอะไรบ้าง ที่เราน่าจะได้เห็นและเข้าไปอยู่ในบ้านหรือคอนโดของแต่ละคนก็จะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่อไปนี้

1. ไฟและแสงสว่าง

ทุกวันนี้เราใช้ระบบแสงและไฟจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายอย่าง โดยเราตั้งเวลาเปิดปิดและตั้งค่าปรับระดับความสว่างได้ด้วย แต่ระบบไฟและแสงจากเทคโนโลยี IoT ก้าวหน้าไปมากกว่านั้น เพราะระบบไฟและแสงจะทำงานได้เพียงเราแสดงปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

ยกตัวอย่าง หากเราสร้างห้องดูหนังเล็ก ๆ สักห้อง ก็สามารถใช้งานไฟฟ้าภายในบ้าน โดยปรับระดับความสว่างเหมือนนั่งดูในโรงภาพยนตร์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น อาจมีเอฟเฟกต์แสงไฟกะพริบติด ๆ ดับ ๆ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศในการรับชมหนังสยองขวัญด้วย เป็นต้น

2. ประตูและหน้าต่างอัตโนมัติ

สิ่งเหล่านี้จะทำงานอัตโนมัติผ่านการป้อนคำสั่ง “จดจำใบหน้า” ของเจ้าบ้านและสมาชิกที่อาศัยอยู่ในบ้านเท่านั้น ประตูสามารถเปิดปิดอัตโนมัติด้วยการสแกนใบหน้า ซึ่งช่วยสร้างมาตรฐานความปลอดภัยกรองคนเข้าออกภายในบ้านได้มากขึ้น

ส่วนระบบหน้าต่างก็จะเปิดปิดได้ตามอัตโนมัติ โดยอาศัยการป้อนคำสั่งเกี่ยวกับดักจับแสงสว่างของดวงอาทิตย์ กล่าวคือ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น หน้าต่างก็จะเปิดออกเองเพื่อรับแสงแดดยามเช้า และปิดบานหน้าต่างเข้ามาเองเมื่อดวงอาทิตย์ตก หรือจะตั้งค่าให้หน้าต่างปิดอัตโนมัติเมื่อฝนตกก็ได้

3. วาล์วน้ำอัจฉริยะ

ปัจจุบันเราสามารถควบคุมการเปิดปิดวาล์วน้ำผ่านการสั่งงานในแอปพลิเคชัน แต่หากเทคโนโลยี IoT เข้ามาทำส่วนนี้ ก็จะอำนวยความสะดวกได้มากกว่าเดิม เพราะระบบเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งในวาล์วน้ำจะดักจับสัญญาณว่าเราอยู่ใกล้ ๆ บ้านหรือไม่

จากนั้นจะตรวจสอบสภาพอากาศและอุณหภูมิบริเวณโดยรอบว่าเป็นอย่างไร ก่อนจะกลับไปประมวลผลสำหรับตั้งค่าอุณหภูมิน้ำที่เหมาะสม เมื่อกลับมาถึงบ้าน เราก็จะได้อาบน้ำในอุณหภูมิกำลังดีได้ทันที

4. ตู้เย็นอัจฉริยะ

หนึ่งในนวัตกรรมไฮเทคอีกตัวที่ควรมีติดบ้าน ตู้เย็นอัจฉริยะจะช่วยสำรวจและคัดแยกอาหารและวัตถุดิบที่เราแช่เก็บไว้ในตู้เย็น รวมทั้งบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และวันหมดอายุของอาหารและวัตถุดิบนั้น ๆ

จริง ๆ แล้ว ตู้เย็นแบบนี้จะทำงานผ่านระบบเซ็นเซอร์ที่ฝังอยู่ในรูปของบาร์โค้ด ซึ่งเก็บข้อมูลรายละเอียดการผลิตโดยตรงด้วยระบบอินเตอร์เน็ต

5. ปลั๊กไฟอัจฉริยะ

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นสำหรับสมาร์ทโฮม ปลั๊กไฟอัจฉริยะจะเปิดปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่เสียบในเต้าปลั๊ก ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการทำงานได้ตามต้องการ

ที่สำคัญ ยังรองรับกับปลั๊กอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ โทรทัศน์ กล่องเคเบิล หรือเครื่องทำกาแฟ และแน่นอนว่าปลั๊กไฟแบบนี้ต่างจากปลั๊กไฟทั่วไป เพราะกินไฟน้อยกว่า ในขณะที่ปลั๊กไฟธรรมดากินไฟมากกว่า

แม้ว่า IoT หรือ In ternet of Things จะยังไม่มาในเร็ววันนี้ แต่เชื่อว่าในอนาคตทุกคนคงต้องได้มีโอกาสใช้นวัตกรรมหลากหลายที่ยกมาข้างต้นหรืออาจล้ำมากกว่าที่กล่าวมาก็ได้

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ