5 แบบบันไดหน้าบ้าน แบบบันไดที่ถูกกฎหมายต้องเป็นอย่างไร

การออก แบบบันไดหน้าบ้าน นั้นมีความสำคัญอย่างมากทั้งในแง่ของการอยู่อาศัย และฮวงจุ้ย ซึ่งจริง ๆ แล้วแบบบันไดไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของบ้านนั้นมีกฎหมายรองรับอยู่ด้วย ลองมาดูว่าแบบบันไดหน้าบ้าน 5 แบบ และแบบบันไดที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร

แบบบันไดหน้าบ้าน บันไดบ้านมีกี่แบบ

แบบบันไดหน้าบ้าน หรือแบบบันไดนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งจะมีลักษณะและความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้อาศัยรวมถึงขนาดของพื้นที่ตัวบ้านด้วย

แบบบันไดหน้าบ้าน

1. บันไดบ้านช่วงเดียว

เป็นบันไดที่มีลักษณะเป็นทางเส้นตรง แบบท่อนเดียว ไม่มีส่วนเว้าส่วนโค้ง หรือรอยต่อทางเลี้ยวแต่อย่างใด เหมาะกับบ้านที่มีลักษณะประตูหน้าบ้านทรงยาว ประตูด้านหน้าของบ้านค่อนข้างแคบ สามารถออกแบบเพิ่มเติมได้ค่อนข้างหลากหลาย

นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบพื้นที่ส่วนข้าง ๆ ของบันไดบ้านแบบช่วงเดียว ให้เป็นชั้นวางหนังสือ หรือชั้นใส่ของต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์นอกจากการขึ้นลงบันไดบ้านเพียงอย่างเดียว

บันไดบ้านแบบหักฉาก หรือ บันไดรูปตัว "L"

2. บันไดบ้านแบบหักฉาก หรือ บันไดรูปตัว “L”

บันไดบ้านลักษณะนี้จะเป็นบันไดบ้านแบบตั้งฉากคล้ายกับรูปตัวอักษร “L” ในภาษาอังกฤษ โดยบันไดบ้านลักษณะนี้จะเหมาะกับตัวบ้านที่มีลักษณะเล็กและต้องการประหยัดพื้นที่ในการใช้สอย

โดยบันไดบ้านลักษณะนี้จะมีการแบ่งบันไดบ้านออกเป็นทั้งหมด 2 ช่วงด้วยกัน ช่วงแรกจะเป็นช่วงฐาน ก่อนจะเลี้ยวตั้งฉากขึ้นไปให้มีลักษณะเหมือนรูปตัวอักษร “L” ตรงช่วงบริเวณชานพักของบันได

White,Marble,Stairs,On,The,First,Floor,In,Luxury,Apartment

3. บันไดบ้านแบบหักกลับ หรือ บันไดบ้านแบบรูปตัว “U”

บันไดบ้านแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายกับบันไดหนีไฟ ที่จะมีลักษณะจำนวนชั้นที่เท่า ๆ กัน แบบหักกลับเป็นมุม 180 องศา หรือ เป็นลักษณะของรูปตัวอักษร “U” ซึ่งบันไดบ้านลักษณะนี้จะมีในบ้านหรืออาคารที่มีความสูงเพดานของแต่ละชั้นในระยะที่เท่า ๆ กันหรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันมาก

โดยปกติแล้วบ้านทั่วไปจะใช้บันไดบ้านที่มีลักษณะแบบนี้ ซึ่งบันไดบ้านแบบรูปตัว “U” นั้น จะมีลักษณะเป็นแบบทอดยาวไปจนถึงชั้นชานพักตรงกลางของช่วงบันไดบ้าน ก่อนจะวนกลับทิศทางเดิมจากชานพักบันได

เหมาะกับบ้านที่มีขนาดเล็ก และมีเนื้อที่จำนวนจำกัด ซึ่งบันไดบ้านแบบรูปตัว “U” นี้ จะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไปตามขนาดของตัวบ้าน

บันไดบ้านแบบโค้งวงกลม

4. บันไดบ้านแบบโค้งวงกลม

บันไดบ้านลักษณะนี้จะเป็นบันไดบ้านที่มีลักษณะโค้งมนเป็นวงกลม เน้นการแสดงให้เห็นทุกส่วนที่ครอบคลุมภายในตัวบ้าน โดยแบบบันไดหน้าบ้านลักษณะนี้จะออกแบบให้แต่ละชั้นเป็นวงกลมหมุนเวียนต่อกันไปเรื่อย ๆ

เหมาะสำหรับบ้านที่หรูหรา มีพื้นที่ขนาดใหญ่ แบบบันไดหน้าบ้านลักษณะนี้ก็จะตอบโจทย์กับตัวบ้านเป็นอย่างมาก

Spiral,Stairs,And,Living,Room,In,Modern,Loft

5. บันไดบ้านแบบเกลียวหมุน

บันไดบ้านแบบเกลียวหมุน เป็นบันไดบ้านที่มีลักษณะเป็นทรงเกลียว ที่มีลักษณะวนไปทางด้านใดด้านหนึ่ง หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ มีเนื้อที่ใช้สอยภายในบ้านน้อย บ้านที่มีขนาดเล็กและต้องการประหยัดพื้นที่ในการใช้สอย สามารถดัดแปลงบันไดบ้านแบบเกลียวหมุนให้มีหน้าตาที่สวยงาม

แต่ข้อเสียของบันไดรูปแบบนี้คือไม่สะดวกต่อการใช้งาน โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กหรือผู้สูงวัยพักอาศัยอยู่ด้วย

ทั้งหมดนี้คือแบบบันไดหน้าบ้าน ที่มักนำมาใช้ตกแต่งบ้าน ซึ่งผู้ที่กำลังจะสร้างบ้านหรือรีโนเวทบ้านหลังเก่าสามารถนำมาใช้เป็นหลักการในการตกแต่งบ้านให้สวยงามในสไตล์ที่ชอบได้ แต่อย่าลืมคำนึงการสร้างให้ถูกตามหลักกฏหมายด้วย

แบบบันไดหน้าบ้านแบบไหนถูกกฏหมาย

แบบบันไดหน้าบ้านแบบไหนถูกกฎหมาย

การจะออกแบบสร้างบ้านสักหลังให้ถูกต้องตามหลักต้องมีกฎหมายควบคุมอาคารด้วย เพื่อให้ได้มาตรฐาน และเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและผู้คนในบริเวณใกล้เคียงนั่นเอง ซึ่งรวมถึงการออกแบบบันไดหน้าบ้านด้วยเช่นกัน โดยมีทั้งหมด 8 ข้อดังนี้

1. บันไดต้องมีความกว้างให้เดินขึ้นลงได้อย่างสะดวกไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร คือ ไม่แคบจนเกินไป ความกว้างสุทธิ หมายถึง ความกว้างที่ไม่รวมสิ่งกีดขวางที่อยู่กับบันได เช่น ราวกันตก ถ้าบ้านไหนมีคนตัวใหญ่มากกว่า 1 คน แล้วเดินสวนกันโดยไม่ต้องรอให้อีกคนหนึ่งเดินไปให้เสร็จก่อน ก็ควรจะมีบันไดกว้างกว่านี้

ความกว้างของบันไดยังส่งผลต่อความเป็นไปได้ในการขนของใหญ่ขึ้นลงอีกด้วย ดังนั้นก่อนจะซื้อเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ที่ถอดประกอบไม่ได้มาใช้ที่ชั้นบน ก็อย่าลืมตรวจเช็กขนาดของบันไดก่อนซื้อ

2. บันไดช่วงหนึ่งต้องสูงไม่เกิน 3 เมตร ในที่นี้หมายถึง ความสูงจากระดับพื้นก่อนบันไดขั้นแรก ไปยังระดับพื้นบ้านของชั้นถัดไป

3. ลูกตั้ง คือ ระยะความสูงระหว่างขั้นบันได ซึ่งต้องสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร เพื่อให้การก้าวขาขึ้นไม่ยากลำบากจนเกินไป และการเดินลงไม่รู้สึกชันจนเป็นอันตราย รวมถึงเพื่อให้ผู้สูงอายุเดินขึ้นลงได้สะดวกมากขึ้น

4. ลูกนอน หรือขั้นบันได เมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้วต้องเหลือระยะไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร เพื่อให้มีระยะวางเท้าได้มากพอและปลอดภัยเวลาเหยียบลงไปแต่ละขั้น และเดินขึ้นลงได้อย่างไม่ลำบากนั่นเอง

5. พื้นหน้าบันไดต้องมีความกว้างและความยาว ไม่น้อยกว่าความกว้างบันได เพื่อให้ผู้ที่เดินขึ้นลงได้มีที่พักที่ปลายทาง และก่อนการเดินลงมีพื้นที่พอสำหรับการเตรียมตัวก้าวขาลงได้อย่างถนัด

6. หากแต่ละชั้นในบ้านมีความสูงต่างกันเกิน 3 เมตร จะต้องมีชานพัก เพื่อไม่ให้ช่วงบันไดมีความสูงเกิน 1 เมตร และชานพักต้องมีความกว้างและความยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได

7. ผู้ใช้บันไดต้องสามารถเดินขึ้นลงได้ โดยแต่ละขั้นที่เดินอยู่ ศีรษะของผู้ใช้ต้องไม่ชนกับส่วนหนึ่งส่วนใดของบ้านด้านบน โดยกฎหมายกำหนดความสูงบริเวณนี้ไว้ไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร

8. แสงสว่างที่เพียงพอ บันไดสามารถอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ของบ้านได้อย่างหลากหลาย ตามแต่แนวทางการจัดวางและออกแบบ แต่ก็ต้องคำนึงถึงแสงสว่างที่ใช้อำนวยความสะดวกในการเดินขึ้นลงบันไดด้วย โดยสามารถเป็นได้ทั้งแสงจากโคมไฟ หรือแสงธรรมชาติที่ได้รับมาจากหน้าต่างกระจกที่มักจะมีอยู่ใกล้ ๆ กับบันได

แบบบันไดหน้าบ้านถูกใจสายมู

แบบบันไดหน้าบ้านถูกใจสายมู

นอกจากสร้างแบบบันไดหน้าบ้านให้ถูกกฏหมายแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สายมูไม่ควรมองข้ามคือการสร้างให้ถูกหลักฮวงจุ้ย เพราะบันไดเป็นตัวเชื่อมโยงของพลังชี่ ระหว่างพื้นบ้านในแต่ละชั้น และยังเป็นตัวสร้างความเคลื่อนไหว เกิดการเคลื่อนที่ของพลังงาน

ถ้าวางตำแหน่งฮวงจุ้ยบันไดผิดจะส่งผลเสียต่อผู้อยู่อาศัย แต่ถ้าวางตำแหน่งที่ถูกต้อง ก็จะช่วยเสริมโชคลาภได้ การจัดฮวงจุ้ยของแบบบันไดหน้าบ้านให้ถูกหลักมีดังนี้

1. บันไดไม่ควรวางอยู่ตรงกับประตูทางเข้าบ้าน เพราะจะทำให้กระแสชี่ไหลเข้าบ้านไม่สะดวก อีกทั้งยังทำให้กระแสชี่ไหลออกนอกบ้านได้ง่าย ลักษณะอย่างนี้ในทางฮวงจุ้ยหมายถึง “เก็บทรัพย์ไม่อยู่” หรือ “ขัดทรัพย์” เรียกได้ว่า หาเงินมาเท่าไหร่ ก็ไม่มีเหลือ

2. หากจำเป็นจะต้องทำบันไดบริเวณประตูทางเข้าบ้าน ควรทำเลี่ยงมาทางด้านข้างแทน เพื่อให้บริเวณหน้าประตูเป็นชานพัก แต่ไม่ควรทำบันได 2 ข้าง ในลักษณะเดินขึ้นข้างหนึ่ง แล้วไปลงอีกข้างหนึ่ง เพราะจะเหมือนบันไดเมรุเผาศพ ซึ่งคนโบราณถือว่าอัปมงคล

3. ห้ามวางตำแหน่งบันไดไว้ใจกลางของบ้าน ในทางฮวงจุ้ยจะถือว่าเป็นตำแหน่งหัวใจของบ้าน ซึ่งการออกแบบบันไดหน้าบ้านในตำแหน่งนี้ จะถือว่าเป็นข้อเสียและเป็นข้อห้ามในทางฮวงจุ้ย เพราะจะทำให้เจ้าของบ้านอยู่ไม่ติดบ้านหรือชีพจรลงเท้า เนื่องจากบันไดมีสภาพที่เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง นอกจากนี้ อาจทำให้เจ้าของบ้านเป็นโรคหัวใจได้ง่าย เพราะตำแหน่งหัวใจจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

4. ควรมีชานพักคั่นกลางบันได เพื่อป้องกันการสภาพการไหลของกระแสอากาศที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาบริเวณบันได ไม่ให้มีอัตราเร่งของการไหลที่สูงจนเกินไปนัก การทำชานพักที่กลางระยะความสูงรวมของบันได ถือว่าจะเป็นตัวที่ช่วยในการชะลอการไหลของกระแสอากาศได้

โดยในหลักการข้อนี้จะสอดคล้องกับหลักการทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ต้องการชานพักบันได้ เพื่อช่วยให้คนใช้งานบันไดได้พักในขณะเดินได้ ในกรณีที่เป็นผู้สูงอายุ หรือถือของหนัก ๆ

ดังนั้น บันไดเวียนจึงถือว่าเป็นบันไดที่ไม่ถูกต้องทั้งหลักฮวงจุ้ยและหลักสถาปัตยกรรมศาสตร์ ยกเว้นในกรณีที่มีพื้นที่จำกัด

5. บันไดบ้านควรมีจำนวนขั้นเป็นเลขคี่ ความเชื่อแต่โบราณนั้น เชื่อว่าบันไดเลขคู่ไม่ส่งผลดีต่อผู้อยู่อาศัยในบ้าน ซึ่งข้อนี้สอดคล้องกับหลักสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพราะตามหลักความสมดุลในจังหวะการเดิน หากก้าวเท้าไหนขึ้นบันไดก่อน ต้องจบด้วยอีกเท้าเสมอ ซึ่งจะช่วยให้น้ำหนักการทรงตัวเป็นไปอย่างสมดุล และไม่เกิดอันตราย

6. บันไดไม่ควรตรงกับห้องนอนในบ้าน ระหว่างบันไดกับประตูห้องนอนควรอยู่ห่าง 1-2 เมตรเป็นอย่างน้อย เนื่องจากบันไดมีกระแสอากาศไหลเวียนอยู่ตลอด การที่ห้องนอนตรงกับบันไดและอยู่ในระยะน้อยกว่าที่ควร จะทำให้ห้องที่ได้รับกระแสพลังงานที่ดีนั้น ถูกพัดออกไปข้างนอกด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้ผู้อยู่เกิดอาการเจ็บป่วย รวมถึงมีแต่รายจ่าย และมีเรื่องให้เสียทรัพย์อยู่ตลอด

7. บ้านที่มีบันไดนอกบ้าน คือ บันไดโจร ในทางฮวงจุ้ยการออกแบบบันไดหน้าบ้านไม่ควรอยู่นอกบ้าน แม้จะสวยงามแต่ถือว่าเป็นบันไดโจร นอกจากจะทำให้ผู้อาศัยมีเกณฑ์เสียเงินเสียทองแล้ว ยังเป็นการเปิดทางให้กับมิจฉาชีพเข้าสู่ตัวบ้านง่ายขึ้นด้วย

สำหรับผู้ที่มีแผนที่จะซื้อบ้าน สร้างบ้าน หรือรีโนเวทบ้านใหม่ การออกแบบบันไดหน้าบ้าน ให้ถูกใจ แถมถูกกฏหมาย และถูกหลักฮวงจุ้ยพร้อมกันไปด้วยจะต้องศึกษารายละเอียดมากพอสมควร แต่ถ้าสร้างได้ถูกหลักแล้ว บ้านสวยในฝันก็ไม่ไกลเกินเอื้อม