บ้านแบบเรียงหน้ากระดาน สะอาดตาด้วยผืนไม้และกระจก
บ้านไม้ผนังกระจก zero energy
แนวคิดในการออกแบบอาคารของสถาปนิกแต่ละสำนัก บ้านแบบเรียงหน้ากระดาน จะแตกต่างกันไปบ้างตามมุมองและการให้ความสำคัญในจุดที่อาจจะไม่ตรงกัน เช่น โฟกัสที่ดีไซน์ การมองหาวัสดุแปลกใหม่ หรือฟังก์ชันใช้สอย แต่ก็จะมีบางรายที่เน้นไปที่แนวความคิดการนำเทคนิคด้านการประหยัดพลังงานมาใช้ ซึ่งต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงตัวอาคาร การเลือกใช้วัสดุ การออกแบบช่องเปิด ช่องลม เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การออกแบบการใช้พลังงานยั่งยืน โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ที่จะนำมาจัดการออกแบบอาคาร zero energy building ซึ่งสามารถนำไปใช้กับการออกแบบบ้านได้ด้วยเช่นกัน บ้านสวน
บ้านไม้สงบงามอย่างเรียบง่าย
บ้านใหม่สองชั้นพื้นที่ 180 ตารางเมตรในสวิตเซอร์แลนด์หลังนี้ มีลักษณะที่โดดเด่นที่สุดสองประการ คือ ส่วนประกอบของบ้านตั้งแต่โครงสร้างหลังคา เสา ประตู ไปจนถึงผนังใช้ไม้สีอ่อนเป็นวัสดุหลัก ๆ และการจัดมุมมองภูมิทัศน์ที่เชื่อมต่อกับโซนการใช้งานภายในของอาคารผ่านผนังกระจกใสที่รายล้อมอยู่รอบด้าน เป็นความเรียบง่ายที่เน้นความสอดคล้องกับธรรมชาติ มองเผิน ๆ เหมือนเป็นบ้านในประเทศญี่ปุ่นโครงการบ้านภูเก็ต
ลุคธรรมดาแต่ใช้พลังงานเป็น 0
ในความธรรมดาของรูปลักษณ์และวัสดุที่ใช้เพียงไม่กี่อย่างนี้ ไม่ได้ทำมาแบบไก่กา แต่แฝงด้วยเทคนิคการดีไซน์อาคารให้มีการใช้พลังงานน้อยที่สุดจนเหลือ 0 ตัวอย่างเช่น หลังคาที่เป็นลักษณะเพิงหมาแหงน จะมีพื้นที่หลังคามากพอการติดตั้งแผลโซล่าร์เซลล์ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้ากระแสหลัก ส่วนน้ำก็ออกแบบระบบการจัดเก็บและหมุนเวียนใช้อย่างครบวงจร จังหวะและขนาดของช่องเปิดคำนวณมาให้บ้านระบายอากาศได้ดีในช่วงฤดูร้อนและวัสดุเก็บความอุ่นได้ดีในช่วงฤดูหนาว บ้านสวน
แม้ว่าผนังชั้นล่างจะเป็นกระจกใส แต่ไม่ได้ทำให้แสงส่องลอดเข้าไปในบ้านเกินความจำเป็น เพราะหลังคาหลักมีกันสาดยื่นยาวออกมาคลุมเฉลียงรอบบ้าน ครอบคลุมบริเวณห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และห้องนอนในขณะที่หลังคาเหนือระเบียงแคบ ๆ เป็นจุดเปลี่ยนระหว่างบ้านและสวน หลังคาด้านหลังขนาดเล็กรองรับทุกห้องที่ใช้งานได้และเชื่อมต่อกันบ้านจัดสรร
อุ่นในหน้าหนาวเย็นในหน้าร้อน
ผนังที่ออกแบบให้เลื่อนเปิดชนมุม ทำให้บ้านเปิดออกพร้อมกันได้ทั้งสองด้าน เมื่ออากาศร้อนก็ช่วยระบายได้มากและยังเปิดมุมมองบ้านออกได้ในมุมที่กว้างขึ้นเช่นกัน ส่วนในฤดูหนาวบ้านก็กักเก็บแสงและความอบอุ่นผ่านกระจกได้ดี บ้านหลังนี้สร้างใน RIEHEN ซึ่งสภาพอากาศโดยรวมค่อนข้างหนาวเย็นตลอดทั้งปี หน้าหนาวอุณหภูมิลดลงเหลือเลขตัวเดียวถึงติดลบหลายเดือนต่อปี ในช่วงฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงสุดเพียง 25-27 องศา ซึ่งกำลังเย็นสบายสำหรับบ้านเรา จึงเหมาะที่จะติดกระจกรอบด้าน หากเป็นบ้านเราต้องปรับประยุกต์ให้เข้ากับบ้านเขตร้อนมากขึ้นสองชั้นยังคงคอนเซ้ปพื้นที่ใช้สอยโล่ง ๆ กระจายอยู่ภายในโครงสร้างไม้เบา พื้นที่ใช้งานจะถูกแบ่งเป็นชั้น ๆ ไปตามความลึกของอาคารของบ้านพลังงานศูนย์
Zero energy หรือการออกแบบอาคารที่มีพลังงานสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งอาจจะยังใหม่สำหรับบ้านเรา ระบบอาคารนี้จะออกแบบโดยเน้นการพึ่งพาธรรมชาติและติดตั้งระบบพลังงานทดแทนเป็นหลักสำคัญ เพื่อให้บ้านใช้พลังงานน้อยลง ไปจนถึงสามารถผลิตพลังงานออกมาได้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น โซล่าเซลล์ ส่วนภายในบ้านจะออกแบบโดยยึดการระบายอากาศตามธรรมชาติ อาทิ หลอดไฟใช้แบบประหยัดพลังงาน เช่น หลอด LED การนำแสงธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ผ่านการใช้กระจก ซึ่งในบ้านเราอยู่ในเขตร้อนกระจกต้องเป็นกระจก Low– E หรือชนิดที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน คือ รับแสงจากภายนอกเข้ามาได้ดี ในขณะที่สามารถกันความร้อนจากแสงแดดและสะท้อนรังสีความร้อนได้ดีเช่นกัน ต้องมีอุปกรณ์บังแสงแดดไม่ให้เข้ามาในตัวอาคารมากไปช่วยลดอิทธิพลของแสง เช่น ชายคา กันสาด ระแนง เพื่อแบ่งเบาภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศให้ลดน้อยลงบ้านจัดสรรภูเก็ต