บ้านเมทัลชีท

บ้านเมทัลชีท หน้าแคบ สวยแบบที่ใช่กับตัวเรา

บ้านเมทัลชีท

บ้านเมทัลชีท หน้าแคบ สวยแบบที่ใช่กับตัวเรา “บ้าน” ไม่ได้เป็นสิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นจากการจัดเรียงวัสดุเท่านั้น เพราะถ้าหากมองลึกลงไป บ้านเป็นเสมือนกล่องมหัศจรรย์ที่บรรจุพื้นที่ชีวิตของเราทั้งหมดอยู่ในนั้น บ้านสวน ยิ่งใช้เวลาอยู่ในบ้านมากเพียงใด ภายในก็ควรจะวิเศษที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ก่อนสร้างบ้านเจ้าของและนักออกแบบจึงต้องผ่านการทำความเข้าใจไซต์ หาบทสรุปร่วมกันทั้งดีไซน์ ฟังก์ชัน งบประมาณ และข้อดีข้อด้อยในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จากนั้นค่อยลงลึกในรายละเอียดและวัสดุ จนออกมาเป็นองค์ประกอบของ “บ้าน” ที่เราจะสัมผัสและเห็นทุกวัน บ้านจัดสรร

หลังคาเมทัลชีทมีอะไรดี

บ้านเมทัลชีท
  • ป้องกันปัญหาการรั่วซึมของหลังคา เพราะอะไรนั่นหรือ ก็คือเมทัลชีทสามารถผลิตได้แผ่นที่ยาวแบบไม่มีรอยต่อ เมื่อไม่มีรอยต่อก็จะไม่มีการรั่วซึมเช่นกัน
  • ความรวดเร็วในการทำงานเนื่องจากเมทัลชีทมาเป็นแผ่นยาวและทำการติดตั้งลักษณะเดียวกับ หลังคากระเบื้องลอนคู่ จึงมีความรวดเร็วมากในการทำงาน
  • เกิดความเสียหายกับตัววัสดุน้อยมากเพราะ เมทัลชีทที่นำมามุงหลังคานั้น ไม่แตกง่ายเหมือนกระเบื้องหลังคาทั่วไป
  • ความแข็งแรงทนทานถ้าตามความเข้าใจของผู้เขียน แผ่นเมทัลชีท เป็นแผ่นโลหะที่เคลือบอลูซิงค์  ซึ่งจะแบ่งเกรดความแข็งแรงเป็นความหนาของแผ่นเมทัลชีทและความหนาของชั้นที่เคลือบอลูซิงค์ จากประสบการ์ของผู้เขียน แผ่นเมทัลชีท จะเสียหายก็ต่อเมื่อโดนสะเก็ด ลูกไฟ จากการ เชื่อมเหล็กจะทำให้แผ่นเมทัลชีทเสียหายได้ 
  • ฝนตกจะเสียงดังไหม ?? เคยมีการพูดถึงแผ่นเมทัลชีทว่ามันก็เป็นแผ่นสังกะสีนั่นเอง เวลาฝนตกเนี้ยเสียงจะดังมากจนอยู่ไม่ได้ แต่ … แผ่นเมทัลชีทจะมีการฉีดโฟมมาด้วยหรือจะมีแผ่นโฟมติดมาด้วยเพื่อลดเสียงและป้องกันความร้อนอีกชั้นหนึ่ง

บ้านในเมลเบิร์น ประเทศออเตรเลียหลังนี้

บ้านเมทัลชีท

ออกแบบสำหรับคู่รักที่มีความสร้างสรรค์  ชอบงานศิลปะและการทำสวน หน้ากว้างเพียง 7 ม. แต่ยาวกว่า 45 ม. โดยทิศเหนืออยู่ติดกับด้านยาวของไซต์ ดังนั้นสถาปนิกจึงต้องใช้ความลึกให้เป็นประโยชน์ สิ่งสำคัญคือการได้จังหวะกว้างตั้งแต่เริ่มแรกที่โปร่งโล่งจากการวางแผ่นทางเดินขนานไปกับกำแพงบล็อกช่องลม มีที่วางหน้าบ้านจัดเป็นสวนที่จะช่วยเป็นกันชนให้บ้านไปในตัว วัสดุภายนอกเน้นความง่ายและทนทานอย่าง Porcelain บล็อก เมทัลชีทสีดำเติมความเข้มให้บ้านดูทันสมัย บ้านสวน

เปิดประตูไม้แบบเรียบ ๆ เข้ามาสู่ภายในจะพบกับผนังไม้ที่ซ่อนฟังก์ชันประตุห้องอยู่ทางขวามืก พื้นหินขัดไม่มีรอยต่อสร้างความเชื่อมต่อของพื้นที่ให้ไหลลื่น เดินไม่มีสะดุดและทำความสะอาดง่าย ภายในบ้านประกอบด้วย ห้องนอน 2 ห้อง ห้องอ่านหนังสือ 1 ห้อง ห้องน้ำ 2 ห้อง ห้องครัวและห้องรับประทานอาหารที่เปิดกว้างมีแสงแดดส่องถึง และห้องนั่งเล่นแยกต่างหาก

จากโจทย์เจ้าของต้องการสร้างบ้านที่อยู่ได้จนแก่บนพื้นที่แคบแต่ให้แสงสว่างมากที่สุด และเชื่อมต่อกับสวนได้อย่างดี มีห้องทำงาน สวนน้ำ และตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบ mid century  ซึ่งง่ายมาก เริ่มจากการวางแปลนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะพื้นที่แคบต้องจัดการพื้นที่และวัสดุที่เพิ่มความโปร่งและสว่าง เพื่อให้ห้องนั่งเล่นเปิดรับแสงธรรมชาติอย่างเต็มที่และมองเห็นวิวสวน จึงต้องเว้นที่ว่างให้เกิดลานเปิดออกสู่ท้องฟ้าตรงกลาง โดยมีกระจกลามิเนตล้อมรอบ ลานนี้จะเป็นปอดของบ้านที่สามารถเปิดรับลมระบายอากาศในฤดูร้อนได้ เพิ่มสีเขียวและสว่างไปยังพื้นที่อยู่อาศัยชั้นล่างทำให้มุมมองถูกเปิดกว้างขึ้นไม่ถูกบดบัง

ภายในตกแต่งสไตล์ Mid century ที่คลาสสิคแต่มีเสน่ห์ โดยใช้วัสดุไม้ เป็นหนึ่งเอกลักษณ์ของบ้านแบบ Mid century modern โทนที่ให้ความอบอุ่น เลือกเก้าอี้ โต๊ะโซฟา ของตกแต่งดีไซน์ที่เน้นเส้นสายเรขาคณิตชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี สไตล์นี้จึงเป็นการผสมผสานของอารมณ์คลาสสิคที่แทรกด้วยความร่วมสมัยอย่างกลมกล่อม สามารถอยู่ร่วมสมัยใหม่ได้เนียนๆ phuket villa

ผนังบล็อกพอร์ซเลนสีอ่อนๆ เป็นอีหนึ่งวัสดุที่ให้ความรู้สึกย้อนยุคและเรียบง่ายได้เป็นอย่างดี แต่คุณสมบัติการใช้งานนั้นดีกว่าบล็อกทั่วไป วัสดุนี้ไม่เพียงจำลองบรรยากาศวันเดิม ๆ มาเก็บไว้ในบ้านเท่านั้น แต่มวลบล็อกทำให้อุณหภูมิภายในคงที่เช่นเดียวกับแผ่นพื้นคอนกรีตที่ตัดและขัดเงา เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวจึงอุ่น ส่วนฤดูร้อนจะเย็น เป็นต้นหลังช่องวงกลมจะเห็นสระน้ำที่สร้างขนานไปตามห้องนั่งเล่น นี่อาจเป็นสระน้ำที่แคบที่สุดที่มนุษย์สร้างขึ้น (ก็ได้)  แต่ดอกบัว พืชน้ำ ปลา น้ำพุ ก็ทำให้สระน้ำเล็ก ๆ นี้มีชีวิตชีวาไม่น้อย ขนาดจึงไม่ใช่สิ่งที่กำนดความสุขเสมอไป

ข้อควรรู้บ้านเมทัลชีท

 บ้านหน้าแคบลึกในทุกที่ มักจะมีปัญหาเหมือนกันคือ ขาดแสงช่วงกลางอาคาร เพราะแสงจากด้านหน้าและด้านหลังส่องเข้าไปไม่ถึง บ้านจึงมืดทึบและไม่มีช่องทางระบายอากาศ ซึ่งสามารถแก้ไขได้หลายวิธี เช่น การจัดแปลนแบบ open plan เรียงฟังก์ชันใช้งานร่วมกันให้ต่อเนื่องไปแบบไม่ก่อปิดแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อย หรืออีกวิธีหนึ่งคือ เจาะพื้นเพดานที่แบ่งระหว่างชั้นออกบางส่วน ทำเป็นที่ว่างโถงสูง เพื่อให้อากาศไหลเวียนได้ดี และการทำช่องแสง skylight รับแสงจากด้านบน หรือจะแบ่งอาคารออกเป็นสองส่วน (ครึ่งหน้าและครึ่งหลัง) แล้วใส่ที่ว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้าจัดเป็นสวนคั่นตรงกลาง รับแสงและลม เป็นต้น ออกแบบบ้าน