บ้านญี่ปุ่น มินิมอล คิดถึงบ้านโมเดิร์นมินิมอล คิดถึงญี่ปุ่น
บ้านญี่ปุ่น มินิมอล คิดถึงบ้านโมเดิร์นมินิมอล คิดถึงญี่ปุ่นยุคนี้เป็นยุคของความเรียบง่าย น้อยแต่มาก ซึ่งเห็นได้ชัดในงานสถาปัตยกรรมด้วย ตัวอย่างอาคารในเนื้อหานี้ก็มาจากแนวคิดนั้นเช่นกัน ที่นี่คือโครงการบ้านและออฟฟิศสถาปนิก Yukawa Design Lab เป็นอาคารที่พยายามตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม โดยการแทรกพื้นที่ว่างที่เริ่มต้นจากถนนส่วนบุคคลและสามารถเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะ ในขณะที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ธรรมชาติที่อยู่ติดกันได้ ทีมงานออกแบบรูปทรงเรียบ ๆ แบบโมเดิร์นมินิมอลเส้นสายน้อย ๆ คมชัดครงการบ้านภูเก็ต
บ้านโมเดิร์นที่ตอบสนองต่อบริบท
อาคารสร้างบนพื้นที่ 126 ตารางเมตร สถาปนิกแบ่งสัดส่วนบ้านออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีหลังคาสูงแบบเพิงหมาแหงนสลับด้านกัน วัสดุหลังคาและผนังภายนอกใช้เมทัลชีท จัดตำแหน่งช่องเปิดและฟังก์ชันภายในโดยเน้นให้บ้านสัมพันธ์กับองค์ประกอบหลัก ๆ คือ แสง (Light), ลม (Wind), ธรรมชาติ (Green), โทนสี (Color), การปฏิสัมพันธ์กับชุมชน (People) แต่ยังมีระดับความเป็นส่วนตัวค่อนข้างสูง จากผนังที่ปิดทึบด้านข้างบ้านสวน
ต้อนรับด้วยความโปร่ง
จากหน้าบ้านจะมีชานกลางแจ้งเทคอนกรีตเชื่อมต่อพื้นที่ใช้งานเข้ามาในตัวอาคาร ซึ่งตกแต่งแบบน้อยแต่มากในสไตล์มินิมอลโมเดิร์น แต่ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม เมื่อเราเดินเข้ามาในบ้านญี่ปุ่น เห็นพื้นที่โล่ง ๆ มีไว้สำหรับเก็บและวางรองเท้า พื้นที่ส่วนนี้เรียกว่า โดมะ (doma) ซึ่งจะอยู่ในระดับเดียวกับพื้นดิน ในขณะที่ส่วนอื่นของบ้านจะถูกยกระดับให้สูงกว่าระดับพื้นดินเล็กน้อย บ้านนี้ก็มีเช่นกันแต่จะทำเป็นบริเวณกว้าง ๆ สำหรับต้อนรับแขกได้
มีแสงมีธรรมชาติในตัวบ้าน
ถัดจาก DOMA จะค่อย ๆ เป็นพื้นที่ยกระดับขึ้นมีบันไดไม้ 2 จุดนำขึ้นไปสู่ส่วนของ Office ที่เป็นเหมือนเวทีขนาดใหญ่ ระหว่างบันไดเว้นระยะเป็นสำหรับปลูกต้นไม้ในอาคาร วิธีนี้ทำให้ต้นไม้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านอย่างแนบสนิท การใช้วัสดุเลือกที่ตอบสนองต่อแสงและสี เช่นเพดานโลหะ ฉากโชจิบ้านสวน และประตูแบบเลื่อนจากโพลีคาร์บอเนตโปร่งใส สำหรับการจัดตำแหน่งหน้าต่างเน้นให้รับแสงธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน และสามารถมองเห็นวิวได้จากหลายทิศทางบานประตูโพลีคาร์บอร์เนตแยกพื้นที่ทำงานออกจากส่วนอื่น ๆ ของบ้านแต่ยังสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกได้ การเลือกวัสดุชนิดนี้มาทำผนังให้แสง เงา และสีที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา ทำให้บ้านดูน่าสนุก ตัวผนังเลื่อนไปมาได้สามารถปิดเพิ่มความเป็นส่วนตัวและเปิดออกได้เท่าที่ต้องการ จึงมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าผนังก่อปิดทึบแล้วใส่ประตูบานเล็ก ๆ
จุดกึ่งกลางของบ้านเหนือต้นไม้ เจาะช่องว่างระหว่างพื้นถึงเพดานแบบ Double Space ซึ่งจะช่วยให้บ้านโปร่งและสบายขึ้น เนื่องจากอากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงและไหลออกตามช่องทางระบายความร้อนได้ง่าย พื้นที่รอบ ๆ ช่องว่างนี้ยังจัดเป็นส่วนใช้งานที่สามารถมองเห็นระหว่างชั้นบนและชั้นล่างได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่จุดไหนก็ไม่ขาดการติดต่อ
โมเดิร์นแต่ไม่ทิ้งความเป็นญี่ปุ่น
ห้องนั่งเล่นที่ติดตั้งประตูโชจิ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่บ้านญี่ปุ่นไม่เคยลืม บ้านโมเดิร์นยุคใหม่ก็ยังหยิบจับมาใช้งาน ประตูบานเลื่อนโชจินี้วิธีทำดั้งเดิมจะใช้ไม้มาตีเป็นช่องๆ แล้วแปะกระดาษสาขาวๆ บางๆ เพื่อใช้ป้องกันห้องที่ปูเสื่อทาทามิไม่ให้โดนแสงแดดมากเกินไป (สังเกตว่าในห้องนี้ก็ปูเสื่อทาทามิเช่นกัน) ในขณะเดียวกันแสงก็ยังผ่านได้บ้างจึงไม่ทำให้ห้องมืด แต่ปัจจุบันหลายๆ บ้านเปลี่ยนจากการใช้กระดาษที่ไม่ทนทานต่อการใช้งาน มาเป็นวัสดุโปร่งแสงที่ให้เอฟเฟ็กต์และบรรยากาศที่ใกล้เคียงกันแทน สำหรับบ้านนี้ไม่เพียงแต่ทำบานประตูโชจิแต่ยังประยุกต์ทำเป็นหลังคาโปร่งแสงด้วยวิลล่าภูเก็ต
ประตูโชจิแม้จะมีข้อดีในแง่ของการปล่อยให้แสงผ่านได้บ้าง ทำให้สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวภายในหรือภายนอกลาง ๆ ไม่ปิดกั้นจนรู้สึกว่าถูกตัดขาดจากส่วนต่าง ๆ ของบ้าน แต่ด้วยข้อจำกัดของวัสดุดั้งเดิมที่เป็นไม้และกระดาษ จะทำให้ประตูไม่เก็บเสียง ขาดง่าย และเป็นส่วนตัวน้อยลง บ้านสวนหากชอบประตูแบบนี้จริง ๆ และต้องการเพิ่มคุณสมบัติการลดเสียงรบกวนให้ความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ควรเลือกใช้วัสดุโปร่งแสงสีขาวขุ่นที่ยอมให้แสงผ่านได้น้อยคล้ายกระดาษ อาทิ อะคริลิก, ไฟเบอร์กลาส, กระจกลามิเนต, โพลีคาร์บอเนต, uPVC เป็นต้น