แบบบ้าน 2 ชั้น

แบบบ้าน 2 ชั้น

แบบบ้าน 2 ชั้น บ้าน 2 ชั้น คือ บ้านที่มีชั้นบนและชั้นล่าง เชื่อมต่อด้วยบันไดบ้าน โดยพื้นที่ชั้นบนและชั้นล่างมีอัตราส่วนเท่า ๆ กัน มีฟังก์ชั่นและห้องต่าง ๆ รองรับการอยู่อาศัย ตามการออกแบบแปลนทั้งชั้นบนและชั้นล่าง คลิ๊กที่นี่

บ้านสไตล์ฟาร์มเฮาส์โมเดิร์น

“รู้สึกเหมือนได้อยู่ในฟาร์ม ใช้ชีวิตเรียบง่ายกับธรรมชาติ สวนผัก และสัตว์เลี้ยง” โจทย์ชีวิตแบบนี้ตรงกับใครบ้างครับ “บ้านไอเดีย” เชื่อเหลือเกินว่าในขณะที่โลกหมุนในสู่อนาคตที่เต็มไปด้วยสีสัน ความแปลกใหม่ แต่ยังมีคนไม่น้อยที่อยากถอยกลับไปสู่บ้านที่เต็มไปด้วยความไม่ซับซ้อน รู้สึกผ่อนคลายเหมือนได้วางสิ่งที่หนักอึ้งบนบ่าลง บ้านหลังนี้ในประเทศแอฟริกาใต้ก็ได้รับโจทย์สร้างบ้าน ที่เจ้าของต้องการรับรู้ถึงภูเขาสวยงามรอบตัว มีพื้นที่พักผ่อนซึมซับธรรมชาติ ทุกตารางเมตรเต็มไปด้วยความผ่อนคลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเจ้าของจึงเลือกละทิ้งชีวิตในเมืองมาอยู่ในที่นี่แบบบ้าน

บ้านหลังนี้ได้รับการออกแบบบนพื้นที่ที่ติดกับเขตอนุรักษ์ธรรมชาติทางทิศเหนือ และตั้งอยู่บนฝั่งประวัติศาสตร์ของแม่น้ำเออร์สเต ชานเมืองของเมืองเคปทาวน์ ที่ตั้งอยู่ด้านหลังเนินเขา Stellenbosch/Vlaeberg ซึ่งภูมิทัศน์ที่สวยงามนี้เอง ถูกใช้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับบ้านใหม่สไตล์ฟาร์ม ที่เน้นประโชย์จากสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด และใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นหลัก ตัวบ้านเป็นอาคารสองชั้นที่ชั้นบนยกสูงล้ำออกมาข้างหน้า จึงดูเหมือนบ้านถูกยกให้ลอยตัว ช่วยให้มองเห็นทิวทัศน์เหนือยอดไม้บนภูเขาอันงดงามรอบ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

แบบบ้าน 2 ชั้น

วัสดุที่ใช้มีทั้งเมทัลชีทลูกฟูกในส่วนหลังคาและผนังในชั้นบน ด้านหน้าจะเห็นหลังคาจั่วไม่มีชายคาช่องแสงขนาดเล็ก ๆ จำลองรูปลักษณของบ้านแบบโรงนาในวัสดุที่ทันสมัยขึ้น ส่วนชั้นล่างถึงส่วนที่ติดกับผืนดิน เลือกใช้วัสดุที่หาได้ในโซนนั้น อาทิ ไม้  ผนัง ‘kraal’ ที่ทำจากหินในท้องถิ่น ที่ทำให้บ้านดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับดิน ต้นไม้ และธรรมชาติที่รายล้อม ยามว่างก็ออกมานั่งดื่มน้ำชา ชมแปลงดอกไม้ในสวนที่ตั้งใจปลูกด้วยตัวเอง

ชั้นล่างจะเป็นส่วนใช้งานสาธารณะมีห้องทำงาน ห้องทานอาหาร ครัว ห้องนั่งเล่น ที่เปิดประตูกระจกออกรับแสงรับลมได้รอบด้าน ในวันที่อากาศเย็น ก็สามารถเพิ่มความอบอุ่นด้วยเตาผิงที่แขวนอยู่อย่างท้าทายในบ้าน การตกแต่งทำอย่างง่ายๆ บนแผ่นพื้นปูพรมพื้นเมือง มีโต๊ะไม้เก่า โซฟาบุผ้าลายดอก ของตกแต่งสัมฤทธิ์ ภาพวาด ได้บรรยากาศแบบบ้านฟาร์มในชนบทแบบบ้าน

โครงสร้างเหล็กได้รับการจัดวางอย่างระมัดระวัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบพลังงานทางเลือกที่รวมเข้ากับเพดาน ส่วนกำแพงหินก็ได้รับการจัดการอย่างพิถีพิถัน ทั้งความสูงและการทำมุมที่เหมาะสมเพื่อจับภาพทิวทัศน์จากจุดนั่งเล่นและห้องนอนทุกที่ของบ้าน ตำแหน่งและขนาดของหน้าต่างก็ถูกกำหนดโดยความสูงของภูเขาที่หันหน้าเข้าหาบ้าน นอกจากนี้กำแพงยังโอบล้อมลานสวน ช่วยป้องกันความเป็นส่วนตัว พร้อมปกป้องตัวอาคารจากลมที่ค่อนข้างแรง

ไฮไลต์ของบ้านอยู่ที่ห้องนอนชั้นบนมีประตูบานกระจกบานสไลด์ ที่ถูกออกแบบให้เก็บเข้าด้านข้างได้หมด เหมือนหายไปในผนังหินข้างๆ เปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยให้กลายเป็นเฉลียงเปิดขนาดใหญ่ ติดตั้งในตำแหน่งที่ศึกษามาอย่างดี เพื่อรับทิวทัศน์ของภูเขาได้สูงสุด และยังเปิดออกไปนั่งเล่น roof terrace นอกบ้านได้ง่ายขึ้น เหมือนพื้นที่กลางแจ้งกับบ้านเป็นส่วนขยายของกันและกัน ฟินขั้นสุดกับการออกไปนอนแช่น้ำกลางแจ้งชมวิวทิวเขา รับสายลม แสงจันทร์ยามค่ำ โดยมีผนังหินกั้นอยู่จึงไม่ต้องกังวลสายตาผู้คนใดๆ

แบบบ้าน 2 ชั้น

ไอเดียการสร้างบ้านแนวธรรมชาติ สไตล์ฟาร์มเฮ้าส์มีหลายแบบหลากอารมณ์ อาจจะเป็นฟาร์มแบบโมเดิร์น บ้านฟาร์มแบบหวานๆ อิงลิชคอทเทจ ฟาร์มแบบอารมณ์ท้องถิ่นดิบๆ  (Rustic Farmhouse) แต่ส่วนใหญ่ก็จะใช้วัสดุในการสร้างและตกแต่งไปในแนวทางคล้าย ๆ กันคือ กรุ่นกลิ่นอายธรรมชาติ เต็มไปด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ งานผ้า  อาจจะมีหิน งานโลหะ อิฐ หรืออะไรที่โดดเด่นในแต่ละท้องถิ่นมาประกอบกัน หรือแม้กระทั่วเมทัลชีทก็ทำได้ แต่ขอให้บ้านมีจั่วสูงก็เป็นบ้านฟาร์มแบบโรงนาไปแล้วครึ่งหนึ่ง

Nightingale House บ้านระแนงไม้ ปลุกธรรมชาติที่มีอยู่ในจิตวิญญาณ

Nightingale House

เสน่ห์ของความเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์ วัสดุ หรือฟังก์ชันเท่านั้น แต่อยู่ที่การรู้คุณของธรรมชาติ และพยายามจัดสรรพื้นที่ใช้ชีวิตให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในทุกฤดูกาล อาจจะเป็นการจัดสวนหน้าบ้านหรือสวนในบ้าน ตามแต่เจ้าของบ้านจะต้องการหรือพื้นที่จะอำนวย สำหรับบ้านหลังนี้ย่านที่พักอาศัยในเขตชานเมือง ซึ่งพัฒนาโดยการสกัดภูเขาออกบางส่วนในช่วงทศวรรษ 1950 แล้วถูกแทนที่ด้วยเมือง สถาปนิกจึงต้องการฟื้นคืนความมีชีวิตชีวาในอดีต ด้วยการสร้างบ้านที่เชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบที่มีสวนด้านหน้า 2 แห่ง และสวนภายใน 3 แห่ง

บ้านพื้นที่ 130 ตารางเมตรนี้ ตั้งอยู่ในที่เนินย่านที่อยู่อาศัยชานเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โปรเจ็กต์พยายามที่จะนำความผุดขึ้นของธรรมชาติภายในร่างกาย สร้างสมดุลกับภูมิทัศน์โดยรอบ กับรูปแบบที่อ่อนโยนของภูเขาที่อยู่เบื้องหลัง หลังคารูปสามเหลี่ยมสามหลังคาลาดต่างระดับ ต่างองศา และทิศทางต่าง ๆ ปรากฏขึ้นอย่างโดดเด่นเหนอหลังคาชั้นล่างที่เป็นเมทัลชีทสีดำรูปตัว L บ้านที่ติดถนนต้องการความเป็นส่วนตัวสูงจึงติดระแนงไม้ไม้แนวตั้งพรางสายตา ในณะที่ยังให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาในพื้นที่บ้านได้ มองดูไกล ๆ เหมือนบ้านมีศาลาโปร่ง ๆ อยู่ข้างบน

หน้าบ้านจัดสวนและทางเดินหินพร้อมม้านั่งเล็ก ๆ ใต้ชายคา ให้เด็ก ๆ ในละแวกบ้านสามารถแวะมานั่งพักหรือเล่นสนุกได้  ใกล้กันเป็นพื้นที่เก็บฟืนของบ้าน การตกแต่งบ้านลักษณะนี้ ทำให้รู้สึกว่าแม้ตัวบ้านจะตั้งใจใส่ความเป็นส่วนตัวลงไป แต่บรรยากาศในภาพรวมก็ยังเต็มไปด้วยความเป็นมิตรและเอื้ออาทร

นอกจากสวนนอกบ้านแล้ว เจ้าของบ้านต้องการให้มีพื้นที่สวนแบบส่วนตัวภายใน สถาปนิกจึงแยกส่วนของอาคารออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ  โดยรักษาระยะห่างและเปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างช้า ๆ อาคารทั้งหมดประกอบด้วย บ้านไม้ชั้นเดียวรูปตัว L และอาคาร 2 ชั้นมีหลังคาทรงจั่วชายคาสั้นๆ ที่ลดหลั่นกันแต่ก็เชื่อมโยงกัน เพื่อสร้างพื้นที่ open Space เปิดออกสู่ท้องฟ้าตรงกลาง  เป็นจุดที่ดึงแสงรับอากาศบริสุทธิ์ ขณะที่ลมพัด แสงส่องลงมา และเงาสีเขียวส่องประกายระยิบระยับทำให้บ้านเต็มไปด้วยชีวิตชีวา

Nightingale House

เมื่อเดินผ่านประตูและสวนหน้าบ้านเข้ามาภายใน จะเห็นรายละเอียดของบันไดบ้านที่ใส่ความโค้งเข้าไไปในระหว่างลูกตั้ง เป็นตัวเอกของบ้านที่ดึงแนวสายตาก่อนใคร จากนั้นจะเริ่มมองไปที่ผนังกระจกรอบด้านที่ให้รู้สึกให้ความลึกและความกว้าง สร้างการเชื่อมต่อเชิงพื้นที่แบบหลวม ๆ ล้อมคอร์ทยาร์ดที่แสวนสดชื่นเอาไว้

สวนเล็กๆ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า  Tsubo Niwa ซึ่งสวนชั้นในของบ้านไม่ได้มีอยู่แค่จุดเดียว แต่มีทั้งหมด 3 จุด กระจายกันอยู่ ซึ่งสวนตรงกลางจะทำหน้าที่เป็นกันชนที่เชื่อมระหว่างสวนด้านหน้าและภายใน ในขณะที่สวนที่มุมทิศใต้เป็นจุดรับลม ปลูกดอกไม้ พืชผล ผสมผสานสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอย่างอ่อนโยน ในยามเช้าอาจจะมีนกน้อย ๆ สัตว์ต่างๆ แวะเวียนมาเยี่ยมสวนนี้ด้วย ทำให้บ้านไม่ได้เป็นมิตรเฉพาะกับคนเท่านั้น แต่เอื้ออารีกับสัตว์ด้วยเช่นกัน

ด้วยความที่บ้านวางตำแหน่งฟังก์ชันต่าง ๆ ล้อมที่ว่างซึ่งจัดเป็นสวนเอาไว้ แล้วใส่ผนังกระจกในบริเวณกว้าง ทำให้แต่ละด้านของบ้านได้รับวิวและความสดชื่นจากธรรมชาติ ที่แทรกอยู่ได้แม้จะอยู่ในห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว หรือห้องอ่านหนังสือ อย่างชิดใกล้ เวลาเดินขึ้นลงบันไดก็สามารถเก็บวิวได้เพราะผนังกระจกตรงจุดนั้นติดสูงจากพื้นจรดเพดานสองชั้น ให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นสูงขึ้นถึงปลายยอดไม้และท้องฟ้า และยังมองเลยออกไปเห็นสนามบินโอซาก้าและใจกลางเมืองโอซาก้าในระยะไกล ๆ ได้

พื้นผิวไม้มีชีวิตชีวาขึ้นเมื่อแสงส่องเข้ามาในบ้าน มิติของแสงเงาที่ส่องลอดซี่ไม้ระแนงตกกระทบผนังและพื้น สร้างบรรยากาศที่น่ามองอย่างอบอุ่น

เสน่ห์ของความเป็นญี่ปุ่น อยู่ที่การใช้ชีวิตร่วมกับฤดูกาล แม้แต่ห้องน้ำ ห้องนอน จึงตั้งใจใส่ผนังกระจกเช่นกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คน บ้าน และธรรมชาติได้อยู่ร่วมกันอย่างชิดใกล้ สามารถเข้าถึงกันได้ง่ายราวกับเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องสายตาของผู้คนภายนอก

บ้านยุคใหม่นิยมใช้ระแนงไม้ในการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยที่บ้านยังคงรับแสงธรรมชาติและลมเข้าสู่ภายในได้ แต่ประตูหรือผนังระแนงเล็ก ๆ นี้ในงานสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นก็มีเช่นกัน และมีมาตั้งแต่โบราณด้วย โดยมีชื่อเรียกว่า senbon-koshi หมายถึง “ระแนงนับพัน” เพราะประกอบด้วยไม้ซี่เล็ก ๆ จำนวนมาก ความถี่ของซี่ระแนงช่วยกรองแสงที่จะเข้าสู่ภายใน และพรางสายตาจากบุคคลภายนอกไปพร้อมกัน ซึ่งไม่ได้ให้แค่ความสวยงาม ยังเป็นประโยชน์กับบ้านด้วยในหลายๆ ประการ

ข้อดีของบ้าน 2 ชั้น

1. สร้างได้แม้ขนาดที่ดินจำกัด

หากมีที่ดินขนาดเล็กแต่ต้องการพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่มากพอ หรืออยู่อาศัยหลายคน ต้องการห้องนอนหลายห้อง บ้าน 2 ชั้นตอบโจทย์มากกว่า แม้ว่าบ้าน 2 ชั้น จะใช้งบประมาณก่อสร้างมากกว่าในการก่อสร้าง บนขนาดที่ดินเท่ากัน แต่ได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว

2. เหมาะกับครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่

ครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่ ที่อยู่อาศัยกันหลายคนในบ้านหลังเดียว การอยู่บ้าน 2 ชั้น สามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอย แบ่งชั้นได้อย่างชัดเจน สามารถจัดสรรพื้นที่ใช้สอยหรือห้องต่าง ๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วน ต่อให้มีสมาชิกครอบครัวหลายคนก็ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด

3. แบ่งห้องได้เป็นสัดส่วน

บ้าน 2 ชั้น สามารถแบ่งสัดส่วนห้องต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานได้ดีและสะดวกกว่า เช่น ชั้นบนเป็นห้องนอน มีความเป็นส่วนตัว สบายใจ ไม่โดนรบกวนจากสมาชิกคนอื่น ๆ หรือห้องทำงานส่วนตัว ที่ต้องการความสงบและสมาธิ หรือถ้าหากมีเฟอร์นิเจอร์หรือข้าวของเครื่องใช้เยอะ ก็ยังสามารถแบ่งพื้นที่จัดเก็บได้ง่าย หรือเพิ่มห้องเก็บของอีกห้องก็ได้ เพราะมีพื้นที่เหลืออยู่เยอะ

4. ถ่ายเทความร้อนภายในบ้านได้ดี

ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว บ้าน 2 ชั้นจะถ่ายเทความร้อนภายในบ้านได้ดีกว่า พื้นที่อยู่อาศัยชั้นล่างจะค่อนข้างเย็นสบายกว่าชั้นบน เพราะมีในส่วนของชั้นบนที่ช่วยป้องกันความร้อนที่จะลงมาสู่ชั้นล่าง

5. ปลอดภัย

ด้วยความที่ตัวบ้านบ้าน 2 ชั้น ยกพื้นสูงมากกว่าบ้านชั้นเดียว หากมองในแง่ความปลอดภัยจากสัตว์เลื้อยคลาน แมลง และโจรผู้ร้าย ที่บ้าน 2 ชั้นสามารถป้องกันได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ก็ไม่สามารถรับประกันได้ 100% ยังคงต้องระมัดระวัง สร้างรั้วรอบขอบชิด และปิดบ้านให้เรียบร้อย

ข้อด้อยของบ้าน 2 ชั้น

1. ต้องอาศัยความชำนาญในการก่อสร้าง

การก่อสร้างบ้านสองชั้นนั้นก็ต้องอาศัยทักษะฝีมือในการก่อสร้างมากกว่าบ้านชั้นเดียว เนื่องจากมีระยะความสูงของเสาที่มากกว่า และมีการออกกแบบคานมากถึง 2 ชั้น เพื่อรับน้ำหนักพื้น

2. งบประมาณสูงกว่า

เมื่อมีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอย เพิ่มจำนวนชั้น แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างย่อมสูงกว่าในกรณีสร้างบ้าน หรือในกรณีซื้อบ้าน 2 ชั้น ก็จะเห็นได้ว่ามีราคาสูงกว่าบ้านชั้นเดียว

3. ไม่สะดวกสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้ที่นั่งวีลแชร์/เด็กเล็ก

บ้าน 2 ชั้นส่วนใหญ่มีห้องนอนอยู่ชั้นบน อาจทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่นั่งวีลแชร์ต้องลำบากและเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการขึ้นลงบันได กรณีที่ทำห้องนอนไว้ชั้นล่างสำหรับผู้สูงอายุ หากเราพักอยู่ชั้นบนของบ้าน เมื่อท่านต้องการความช่วยเหลืออาจไม่สะดวกนัก

สำหรับสมาชิกที่ต้องดูแลผู้สูงอายุแล้วนอนอยู่ห้องนอนชั้นบน หรือในกรณีที่มีเด็กเล็กอยู่อาศัย ก็ยิ่งต้องคอยระวัง เพราะอาจเล่นซนจนพลาดพลั้งตกบันได ได้รับความบาดเจ็บได้